21 พฤศจิกายน 2024

บ้านวินเซอร์หนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญย่านกุฎีจีนที่ต้องแวะ

สวัสดีค่ะ วันนี้ทริปซ่าส์ได้มีโอกาศไปเยี่ยมชมชุมชนกุฎีจีน ที่เป็นชุมชนเก่าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และสิ่งหนึ่งที่สวยสะดุดตาทริปซ่าส์เอามากๆ นั้นก็คือ บ้านวินเซอร์ ซึ่งบ้านวินเซอร์นี้ เป็นบ้านไม้โบราณแกะสลักด้วยลวดลายขนมปังขิง ที่มีอายุกว่า 200 ปีเลย และล่าสุด เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมานี้ กรมศิลปากร ก็ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วค่ะ (:

บริเวณลานหน้าวัดกัลยาณมิตร
บริเวณลานหน้าวัดกัลยาณมิตร

หลังจากที่ทริปซ่าส์ ได้ไปไหว้ขอพรกับองค์หลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตรเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ไปได้ไปเยี่ยมชมชุมชนกุฎีจีน โดยใช้ทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน และสามารถเดินเข้าทางศาลาท่าเรือโรงเรียนวัดกัลยาณมิตรได้เลยค่ะ

ศาลาท่าเรือข้างกับโรงเรียนวัดกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นทางออกไปยังทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน

ทางเดินนี้ สามารถเดินไปยังสะพานพุทธได้เลยนะคะ

ทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน

บรรยากาศริมแม่น้ำสวยงามมากๆ ระหว่างทางก็จะได้รับเกล็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์อีกทั้งยังได้เพลิดเพลินกับงานศิลปะ และจุดถ่ายรูปสวยๆ ตลอดเส้นทางกันเลยค่ะ

บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน

ในระหว่างทางเดิน ก็ยังสามารถแวะไหว้สักการะองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้าเกียนอันกงได้อีกด้วยนะคะ

ศาลเจ้าเกียนอันกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิม
ศาลเจ้าเกียนอันกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิม
บรรยากาศสองข้างทางของทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน

ถึงแล้วค่ะ… บ้านวินเซอร์ บ้านไม้โบราณหลังเก่าที่แลดูมีมนต์ขลังมากๆ

บ้านวินเซอร์ หรือ บ้านคุณพระประกอบ

ความจริงแล้วบ้านไม้โบราณหลังนี้ไม่ใช่บ้านของหลุยส์ วินเซอร์ อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่ความจริงแล้วเป็นบ้านของคุณพระประกอบ (Khunphra Prakob’s House) ที่เป็นญาติทางฝั่งภรรยาของหลุยส์ วินเซอร์

ส่วนบ้านของหลุยส์ วินเซอร์เป็นบ้านอิฐหลังแรกในชุมชนที่ได้ปลูกคู่กันมากับบ้านคุณพระประกอบตั้งแต่สมัยก่อตั้งชุมชนกุฎีจีน ซึ่งปัจจุบันตัวบ้านได้พังเสียหายไปหมดแล้ว เหลือเพียงบ้านไม้ของคุณพระประกอบเท่านั้น

บ้านวินเซอร์เป็นสถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลายตามหน้าจั่ว มีช่องระบายอากาศ ลูกกรงระเบียง และรอบชายคา ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “เรือนแบบขนมปังขิง” หรือ “เรือนมะนิลา” เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ยกพื้นส่วนล่างสูง มุกด้านหน้าตกแต่งด้วยซุ้มโค้ง ซึ่งเดิมทีอาจเป็นระเบียง เพราะมีพนักระเบียง ต่อมาอาจทำผนัง หน้าต่าง และกั้นเป็นห้องเพิ่มเติม ตัวบ้านหันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยผังพื้นบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกันทั้งชั้นล่างและชั้นบน

ประวัติความเป็นมา

บ้านวินเซอร์ หรือบ้านคุณพระประกอบ ตามประวัติเจ้าของบ้านเดิม คือ นางสมบุญ วินด์เซอร์ ซึ่งเป็นบุตรสาวเจ้าของโรงสีข้าวในคลองบางหลวง และได้สมรสกับ นายหลุยส์ วินด์เซอร์ บุตรชายของ นายกเนียร์ วินด์เซอร์ ซึ่งกัปตันเรือชาวอังกฤษ ที่เป็นผู้ก่อตั้งกิจการ “ห้างวินด์เซอร์” หรือ “ห้างสี่ตา” บริเวณถนนเจริญกรุง และต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ชุมชนกุฎีจีน

บ้านวินเซอร์ หรือ บ้านคุณพระประกอบ

ปัจจุบันบ้านหลังนี้ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 130 ซอยกุฎีจีน 4 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี โดยมีมิสซังโรมันคาทอลิก วัดซางตาครู้ส เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และล่าสุด เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมานี้ กรมศิลปากร ก็ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วค่ะ

บ้านวินเซอร์ หรือ บ้านคุณพระประกอบ
จุดถ่ายรูปบริเวณทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
จุดถ่ายรูปบริเวณทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีน
วัดซางตาครู้ส กุฎีจีน

การเดินทาง : สามารถใช้ทางเดินเรียบแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนกุฎีจีนจากใต้สะพานพุทธ หรือจากวัดกัลยาณมิตร

ที่อยู่ : 130 ซอยกุฎีจีน 4 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600

เบอร์ติดต่อ : –

เวลา : เปิดบริการทุกวัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า